[으]시 : เติมเข้ากับคำกริยา ในประโยคที่ต้องยกย่องและให้ความสุภาพกับประธานของประโยค
🌼 [으]시 : ใช้ยังไง?
> ใช้กับคำกริยาทั้งกริยาแสดงอาการและกริยาบอกสภาพ
🌿 คำกริยาที่มีตัวสะกด เติม 으시
: 입다 - 입으시 - 입으세요.
: 읽다 - 읽으시 - 읽으세요.
🌱 คำกริยาที่ไม่มีตัวสะกด เติม 시
: 가다 - 가시 - 가세요.
: 오다 - 오시 - 오세요.
: 하다 - 하시 - 하세요.
🌱 *ระวังคำเหล่านี้
: 만들다 - 만드세요 [ㄹ불규칙]
: 듣다 - 들으세요. [ㄷ불규칙]
: 알다 - 알시 - 아세요.
นอกจากนี้ยังมีคำกริยาที่เปลี่ยนรูปเป็นคำใหม่
คำชี้ที่เปลี่ยนรูปเป็นรูปยกย่อง
คำนามที่มีรูปยกย่อง [ควรจำคำเหล่านี้ไว้ใช้จะช่วยให้การพูดของเราสุภาพมากขึ้นค่ะ]
🍀 [으]시 : ผันเป็นอะไรได้บ้าง?
: - 세요 ผันเป็นกาลปัจจุบัน
: - 셨어요 ผันเป็นกาลอดีต
: - 실 거예요 ผันเป็นอนาคต
: - 셔서 - เชื่อมประโยคด้วย 아/어서 เพราะ...
: - 시고 - เชื่อมประโยคด้วย 고 และ...
: - 시지만 - เชื่อมประโยคด้วย 지만 แต่...
🍂 [으]시 : ใช้กับใคร?
: 부모님 พ่อแม่
: 할아버지 อากง
: 할머니 อาม่า
: 선생님 คุณครู
: 처음 만나는 사람 คนที่เจอครั้งแรก
: 나이가 저보다 많은 사람 คนที่อายุมากกว่าตัวฉัน
: 사회적으로 지위가 높은 사람 คนที่มีตำแหน่งทางสังคมสูง
ตัวอย่างประโยค
🌴 직원과 팀장 : พนักงานกับหัวหน้าทีม
🌵 : 저는 부모님의 댁에 가요.
[ฉันไปที่บ้านของพ่อแม่ - คำอธิบาย ฉันเป็นคนไป ไม่ต้องยกย่องตัวเอง แต่ให้ยกย่องพ่อแม่และใช้คำว่าบ้านเป็นคำยกย่องเพราะเป็นบ้านของพ่อแม่
🌿 : 지금 선생님께서 가르치고 계세요.
[ตอนนี้คุณครูกำลังสอนอยู่ - คำอธิบาย เป็นประโยคที่นักเรียนพูดถึงครู จึงยกย่องครูด้วย 계시다 แต่! ถ้าเปลี่ยนเป็น นักเรียนกำลังเรียนอยู่ เราจะใช้ว่า 학생이 배우고 있어요.]
🌵 : 열세 어떻게 되세요?
[อายุเท่าไหร่ - คำอธิบาย การถามอายุด้วยประโยคตัวอย่างนี้จะให้ความสุภาพมากกว่าการถามว่า 몇 살이에요?]
🌾 : ถาม 시간이 있으세요? [มีเวลาไหมคะ - คำอธิบาย คนถามอยู่ในสถานะที่ต้องให้เกียรติคนตอบ จึงถามด้วยรูปยกย่อง [으]시]
🌾 : ตอบ 네, 있어요. [ ได้ครับ มีเวลาครับ - คำอธิบาย คนตอบไม่จำเป็นต้องยกย่องตัวเองด้วย [으]시 จึงลงท้ายประโยคได้ตามปกติ]
🌵 : 들어주셔서 고맙습니다 [ขอบคุณที่ช่วยรับฟัง - คำอธิบาย พูดในการจบประโยค เช่น การพรีเซนต์งาน การพูดจบสนทนา]
🌿 : 사장님이 진지를 드시고 계세요. [ท่านประธานกำลังรับประทานอาหาร]
🌵: 우리 대통령이 정말 멋있으세요. [ปธน.ของพวกเราเท่จริงๆ]
🌿 : 많이 드세요. [ทานเยอะๆ]
🌵 : 할머니께서는 돌아가셨어요. [อาม่าจากไปแล้ว]
🌿 : 할아버지께서는 열 시에 주무하세요. [อากงนอนหลับตอน4ทุ่ม]
🌵 : 낳아주시고 키워주셔서 감사합니다. [ขอบคุณที่ให้กำเนิดและเลี้ยงดู - คำอธิบาย ลูกๆเขียนถึงพ่อแม่]
💙 께서 / 께서는 ในประโยคที่เราต้องการยกย่อง [ประธานของประโยคเป็นผู้อาวุโส เช่น อากงอาม่า คุณครู และอื่นๆ] ให้ใช้ 께서 / 께서는 แทนตัวชี้ 이 / 가 โดย 께서 / 께서는 ไม่ได้มีความหมายในตัว แต่ทำหน้าที่เป็นตัวชี้ประธานของประโยค เช่นเดียวกับ 이 / 가
🌸 และประโยคคลาสสิคที่ทุกคนคุ้นหู
> 안녕하세요.
> 안녕히 가세요.
> 안녕히 계세요.
----------------------------------------------------------------------
📣 "แจกฟรี" 📢
> ไฟล์.pdf คำกริยาเกาหลี 444 คำ 🎒
> รูปภาพ คำศัพท์444คำ ฉบับ HD 🎪
🌀 ดาวน์โหลดได้ที่ > https://todaywesayanyoung.blogspot.com/2021/11/444.html…
#ภาษาเกาหลี #เกาหลี #เรียนเกาหลี #우리_KORAEN_배우자
-----------------------------------------------------------------------------------------------